ในหลวงกับฝนหลวง

By Whats New

วิธีคิดของในหลวงเกี่ยวกับการสร้างนวัตกรรมต่างๆ อย่างฝนหลวง ถือเป็นความสำเร็จที่เกิดจากพระอัจฉริยภาพ และความสนพระราชหฤทัยอย่างจริงจังของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวโดยแท้จริง รู้ไหมว่าพระองค์ทรงทำการทดลองวิจัยด้วยพระองค์เอง รวมทั้งได้พระราชทานทรัพย์สินส่วนพระองค์เป็นค่าใช้จ่าย เพื่อทำการทดลองปฏิบัติการฝนหลวง พระเมตตาธรรม ระยะเวลาที่ทรงมานะบากบั่น อดทนด้วยพระวิริยอุตสาหะ

เมื่อคราวที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมพสกนิกร เมื่อปี พ.ศ. 2498 ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้ทรงรับทราบถึงความเดือดร้อนทุกข์ยากของราษฎรและเกษตรกรที่ขาดแคลนน้ำอุปโภคบริโภคและการเกษตร จึงได้มีพระมหากรุณาธิคุณพระราชทานโครงการพระราชดำริ “ฝนหลวง”(Artificial rain) ให้กับ ม.ร.ว.เทพฤทธิ์ เทวกุล ไปดำเนินการ ซึ่งต่อมาได้เกิดเป็นโครงการค้นคว้าทดลองปฏิบัติการฝนเทียมหรือฝนหลวงขึ้น ในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เมื่อปี พ.ศ. 2512 ด้วยความสำเร็จของ โครงการ จึงได้ตราพระราชกฤษฎีการก่อตั้งสำนักงานปฏิบัติการฝนหลวงขึ้นในปี พ.ศ. 2518 ในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เพื่อเป็นหน่วยงานรองรับโครงการพระราชดำริฝนหลวงต่อไป

เพื่อนๆเคยสงสัยไหมว่าแนวคิดการทำ ฝนหลวงนั้น มีที่มาและขั้นตอนการทำเช่นไร? Studio7 จะสรุปขั้นตอนสั้นๆเข้าใจง่านในการทำฝนหลวง ให้เพื่อนๆได้รู้และเข้าใจกัน

ขั้นตอนการทำฝนหลวง มีทั้งหมดด้วยกัน 3 ขั้นตอน

ขั้นตอนที่หนึ่ง : “ก่อกวน”

ใช้สารเคมีกระตุ้นให้มวลอากาศลอยตัวขึ้นสู่เบื้องบน เพื่อให้เกิดกระบวนการชักนำไอน้ำหรือความชื้นเข้าสู่ระบบการเกิดเมฆฝน ในระยะต่อมาวิธีการคือ โปรยสารเคมีที่ก่อให้เกิดกระบวนการกลั่นตัวของไอน้ำในอากาศได้แก่  เกลือแกง  ที่ความสูงประมาณ 7,000  ฟุต  ความชื้นหรือไอน้ำจะดูดซับเข้าไปเกาะรอบแกนเกลือ  แล้วรวมตัวกันเกิดเป็นเมฆที่จะพัฒนาเจริญขึ้นเป็นเมฆก้อนใหญ่ที่อาจสูงถึง  10,000  ฟุต

ขั้นตอนที่สอง : “เลี้ยงให้อ้วน”

เลี้ยงก่อนเมฆให้อ้วนด้วยแคลเซียมคลอไรด์ เพื่อให้เมฆหนาแน่นขึ้น แล้วเริ่มกลั่นตัวเป็นหยดน้ำ เป็นการเพิ่มแกนเม็ดไอน้ำให้กลุ่มเมฆฝนมีความหนาแน่นมากขึ้น  ใช้สารเคมีผงแคลซียมคลอไรด์โปรยเข้าไปที่กลุ่มเมฆที่มีความสูงประมาณ 8,000 ฟุต  หรือสูงกว่าฐานเมฆประมาณ 1,000 ฟุต   ขั้นตอนนี้สามารถเร่งกิจกรรมการกลั่นตัวของไอน้ำได้เร็วกว่าที่จะปล่อยให้เจริญขึ้นเองตามธรรมชาติ  เมฆใหญ่อาจจะก่อยอดขึ้นถึงระดับ  15,000 ฟุต  ซึ่งทางวิทยาศาสตร์ถือว่าเป็นส่วนของเมฆอุ่น  แต่ในบางครั้งยอดเมฆอาจจะสูงถึง 20,000 ฟุต  ซึ่งถือว่าเป็นส่วนของเมฆเย็น (เริ่มตั้งแต่ประมาณ 18,000 ฟุต)

ขั้นตอนที่สาม : “โจมตี”

ขั้นตอนสุดท้ายของการทำฝนเทียม เมื่อเมฆหนาตัวขึ้นก็ได้เวลาเร่งบังคับให้เกิดฝน และขับเครื่องบินเคลื่อนตัวเข้าสู่พื้นที่เป้าหมาย ขณะที่เมฆเจริญเติบโตขึ้นจนเริ่มแก่ตัวจัดจนฐานเมฆลดระดับต่ำลงประมาณ 1,000 ฟุต  และเคลื่อนตัวเข้าสู่พื้นที่เป้าหมาย

 

  • ขอขอบคุณแหล่งอ้างอิง http://www.manager.co.th
  • ขอขอบคุณแหล่งอ้างอิง https://sites.google.com/site/samutrk

Tagged under: